สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 20-26 ธันวาคม 2562

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.)ครั้งที่ 1/2562เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map)(9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62(5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2)โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,807 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,291 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.88
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,675 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,633 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 31,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,770 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,450 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.79
 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,099 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,862 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,097 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,857 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 5 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,306 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 427ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,789 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.21 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 517 บาท
ข้าวขาว 25%สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 434 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,977 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 420ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,580 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.33 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 397 บาท
ข้าวนึ่ง 5%สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 438 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,097บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 421 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,610 บาท/ตัน )ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 487 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.9015
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2562/63ณ เดือนธันวาคม 2562
มีผลผลิต498.396ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 499.193 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2561/62หรือลดลงร้อยละ 0.16
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลกกระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2562/63 ณ เดือนธันวาคม 2562 มีปริมาณผลผลิต 498.396ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2561/62 ร้อยละ 0.16การใช้ในประเทศ 493.825ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 1.06 การส่งออก/นำเข้า 45.939 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก
ปี 2561/62 ร้อยละ 3.45 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 177.802 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 2.64
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา จีน กายานา อินเดีย แอฟริกาใต้ ไทย เวียดนาม  และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล ปากีสถาน ปารากวัย และรัสเซีย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ คิวบา กินี อินโดนีเซีย เคนย่า เม็กซิโก โมแซมบิค เนปาล ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อียู อิหร่าน อิรัก และฟิลิปปินส์
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย ส่วนประเทศที่
คาดว่าจะ
มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา
 
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย : ดันจีทูจีข้าว 3 แสนตัน ลุยเจรจาคอฟโกแตกลอตเล็ก
ไร้ข้อสรุปจีทูจีข้าว 3 แสนตัน ลากยาวปี 63 “พาณิชย์” ลุยเจรจาคอฟโกเปลี่ยนเงื่อนไขหั่นขายลอตเล็ก
ชี้ปัจจัยเสี่ยงสต็อกจีนล้น-บาทแข็งกระทบหนัก เตรียมโรดโชว์ตลาดใหม่

นายกีรติ  รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรมได้เดินทางไปเจรจากับรัฐวิสาหกิจจีน (คอฟโก) ที่กรุงปักกิ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ถึงแนวทางการทำสัญญาส่งมอบข้าวในสัญญารัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ระหว่างไทยและจีน ที่ยังคงเหลืออีก 3 แสนตัน ซึ่งยังเหลืออีก 3 ครั้ง ตามสัญญาที่กำหนดให้มีการส่งมอบลอตละ 80,000-100,000 ตัน แต่ภายหลังจากราคาข้าวไทยปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับจีนมีสต็อกข้าวเก่าค้างอยู่เป็นจำนวนมาก ทางฝ่ายไทยขอความร่วมมือให้จีนพิจารณาซื้อให้ครบตามสัญญาที่ยังค้างอยู่ และเสนอให้เปลี่ยนแปลงในรายละเอียด เช่น ปรับลดปริมาณซื้อขายในสัญญาลอตละ 20,000-30,000 ตัน แทนจากเดิมที่กำหนด 80,000-100,000 ตัน และอาจจะเปลี่ยนชนิดข้าวเป็นข้าวหอมปทุมธานีแทน
“เรามองว่าการปรับสัญญาเป็นไซส์เล็กจะทำให้ขายได้ราคาดีกว่าลอตใหญ่ เพราะปัจจุบันค่าเงินบาทแข็งค่า ราคาจึงแพงกว่า ทำให้ลูกค้ากังวล เช่น ถ้าเป็นข้าวไทย-เวียดนาม ต่างกัน 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ก็ไม่อยากซื้อ และ
ถ้าเปลี่ยนชนิดเป็นข้าวหอมปทุมธานีแทนหอมมะลิอาจจะได้ราคาที่เหมาะสม ทางคอฟโกรับทราบในหลักการและเตรียมจะเสนอทางรัฐบาลพิจารณา เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา ส่วนการกำหนดราคาซื้อขายแต่ละลอตยังต้องหารือกันอีกรอบ คาดว่าจะได้ข้อสรุปหลังตรุษจีนอีกครั้ง เพราะตอนนี้ทางจีนปิดดีลข้าวเก็บเข้าสต็อกตั้งแต่เดือนธันวาคม
เพื่อใช้สำหรับตรุษจีนแล้ว”
นายกีรติกล่าวว่า การส่งออกข้าวในปีนี้ คาดว่าจะมีปริมาณ 8 ล้านตัน ส่วนแนวโน้มปีหน้าอาจจะพิจารณาเป้าหมายใหม่อีกครั้ง หลังผ่านเทศกาลตรุษจีนไปแล้ว สำหรับกรณีการตกลงจีทูจีล่าช้านั้นจะไม่ส่งผลกับตลาดในช่วง
นาปรัง 2562 เพราะประเด็นนี้คงเป็นปัจจัยเสี่ยงลำดับรองหากเทียบกับปัจจัยค่าบาทที่ส่งผลให้ราคาข้าวไทยปรับตัวสูงขึ้น
“ปีนี้น่าจะถึง 8 ล้านตัน ต่ำกว่าเป้าหมายอยู่แล้ว ซึ่งไม่ได้เกินคาดหมาย ปีหน้าก็มีความเสี่ยงจะเหนื่อยหนักกว่านี้ เพราะยังคงมีปัจจัยหลักจากค่าเงินบาทแข็งค่า หลายฝ่ายมองว่าอาจจะหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทางกรมจะต้องทำแผนผลักดันการส่งออกให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งเรามีแผนจะผลักดันการส่งออกไปตลาดใหม่ที่ควรไป แต่ต้องยอมรับว่าคนทานข้าวก็เป็นตลาดเดิมเพียงแต่อาจจะสามารถรุกตลาดข้าวชนิดใหม่เพิ่มสัดส่วนมากขึ้น แต่คงไม่ได้รวดเร็วนัก ปีหน้าข้าวขาวยังเป็นสินค้าชูโรงหลักของไทย ถ้าหาก
เงินบาทแข็งค่าขึ้น คงต้องประเมินผลกระทบอีกครั้งเพราะจะกระทบสินค้าส่งออกทุกชนิด”
อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจว่า มติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวตามกรอบเดิมเป็นลักษณะปีต่อปี และเมื่อมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ทางกรมต้องเสนอกรอบหลักการระบายข้าวเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งในรายละเอียดไม่ได้แตกต่างจากแบบเดิมที่เคยดำเนินการในช่วงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
จึงมีประเด็นเพิ่มเติมตามความเห็นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งทั้งหมดผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว
“ในส่วนของความเห็น ป.ป.ช. ทาง ครม. แจ้งว่าการทำจีทูจีต้องเป็นลักษณะนี้ ไม่ใช่การเปลี่ยนเงื่อนไข ตอนนี้
ไม่มีข้าวในสต็อกแล้วไม่ทราบจะเอาข้าวจากไหนส่งมอบ ก็ต้องใช้ข้าวเอกชน ซึ่งเป็นการเขียนกรอบกว้างๆ ให้ครอบคลุม ครบถ้วน ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนและไม่ได้เขียนไปก็จะต้องเข้า ครม.ใหม่ ดังนั้น เราต้องเขียนให้ชัดเจนโดยระบุว่า เจรจาจีทูจีต้องมอบหมายอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นผู้เจรจา ลงนามในสัญญา และเห็นชอบขั้นตอนกรอบเจรจา ทั้งนี้
การลงนามในสัญญาเพื่อไม่ให้นำข้าวมาวน”
ส่วนแนวทางการขายข้าวด้วยวิธีการอื่น เช่น การทำการค้าแลกเปลี่ยน หรือบาร์เตอร์เทรดที่มีผู้ส่งออกบางรายเห็นว่าควรทำนั้น นายกีรติมองว่า วิธีการนี้สามารถทำได้ระดับเอกชน-เอกชน เพราะรัฐบาลทำไม่ได้ ไม่มีกฎหมายอะไรรองรับในส่วนนี้ ซึ่งวิธีนี้ก็ต้องกลับไปดูราคาอยู่ดี ว่ากำหนดอย่างไรจะสมน้ำสมเนื้อ
สำหรับแผนโรดโชว์ในปีหน้า กรมจะร่วมคณะนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางเยือนอินเดีย ระหว่างวันที่ 15-16 มกราคม โดยมุ่งเป้าไปเปิดตลาดสินค้าเกษตรในเมืองรอง เช่น ยางพารา ไม้ยาง และแป้งมัน นอกจากนี้ ทางท่านรัฐมนตรีต้องการเร่งผลักดันให้ส่งมอบสินค้าตามที่ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ส่วนการส่งมอบทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะเป็นผู้ติดตาม แต่ต้องเป็นไปตามระยะเวลาการส่งมอบตามสัญญาของเอกชนแต่ละราย ซึ่งอาจจะไมใช่การส่งมอบในคราวเดียว แต่ทอดเวลาเพื่อจัดหาสินค้าและทยอยส่งมอบตามที่ 2 ฝ่ายกำหนด
ที่มา:หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ 
 
จีน
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ(the National Grain Center) สามารถขายข้าวเปลือกเก่าจากสต็อกรัฐบาลปี2559-2561ได้ประมาณ 2,850 ตัน จากที่นำข้าวเปลือกเก่าออกประมูลประมาณ 309,782 ล้านตัน (คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของปริมาณข้าวที่นำมาเสนอขาย) โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,300 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 328 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน นอกจากนี้ยังขายข้าวเปลือกเก่าปี 2557-2558ได้ประมาณ 19,670 ตัน จากที่นำข้าวเปลือกเก่าออกประมูลประมาณ 301,687 ล้านตัน (คิดเป็นร้อยละ6.52 ของปริมาณข้าวที่นำมาเสนอขาย) โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,915 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 273 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
กระทรวงการศุลกากร สาธารณรัฐประชาชนจีน (General Administration of Customs of the People's Republic of China; GACC) รายงานว่า การส่งออกข้าวในเดือนพฤศจิกายน 2562 มีจำนวน 131,666 ตัน มูลค่าประมาณ 66.928 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ47.71 และร้อยละ25.85 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2562 ที่ผ่านมา ที่ส่งออกประมาณ 250,518 ตัน มูลค่าประมาณ 90.225 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ47.39 และร้อยละ35.63ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (พฤศจิกายน 2561) ที่มีการส่งออกข้าวจำนวน 249,033 ตัน มูลค่า 103.933 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ในช่วง 11 เดือนของปีนี้(มกราคม-พฤศจิกายน 2562) ประเทศจีนส่งออกข้าวได้ประมาณ 2.535ล้านตัน มูลค่าประมาณ 970.491 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ39.82 และร้อยละ 29.11
เมื่อเทียบกับจำนวน 1.813 ล้านตัน มูลค่า 751.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับการนำเข้าข้าวในเดือนพฤศจิกายน 2562 (ข้อมูลเบื้องต้น) มีประมาณ 260,000 ตัน มูลค่าประมาณ 124.245 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ13.33 และร้อยละ20.81 เมื่อเทียบกับจำนวนประมาณ 300,000 ตัน มูลค่าประมาณ 156.894 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ในช่วง 11 เดือนของปีนี้ประเทศจีนนำเข้าข้าวประมาณ 2.17 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1,098.724
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ22.5 และร้อยละ25.34 เมื่อเทียบกับจำนวน 2.8 ล้านตัน มูลค่า 1,471.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา:สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย



กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.87 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้
ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.14
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.35 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 291.80 ดอลลาร์สหรัฐ (8,725 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 294.80 ดอลลาร์สหรัฐ (8,830 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 105 บาท  
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 310.40 เซนต์ (3,710 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 386.48 เซนต์ (4,623 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 19.69 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 913 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 31.474 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.53 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.53 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.62 โดยเดือนธันวาคม 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.87 ล้านตัน (ร้อยละ 9.12 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.61 ล้านตัน (ร้อยละ 55.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนัก สำหรับราคาหัวมันสำปะหลังสดมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.01 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.50
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.36 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.34 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.37
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.06 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.08 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.33
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 12.91 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.46
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,967 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (6,979 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน


 


ปาล์มน้ำมัน
 


อ้อยและน้ำตาล

 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.63 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.64
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 934.05 เซนต์ (10.42 บาท/กก.) สูงขึ้น จากบุชเชลละ 922.16 เซนต์ (10.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.29
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 300.15 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.11 บาท/กก.) สูงขึ้น จากตันละ 300.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.02
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 33.96 เซนต์ (22.72 บาท/กก.) สูงขึ้น จากปอนด์ละ 33.29 เซนต์ (22.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.01

 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด


 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.13 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,034.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.93 บาท/กิโลกรัม) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน เฉลี่ยตันละ 1,034.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.98 บาท/กิโลกรัม) แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 933.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.92 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 933.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 แต่ลดลงในรูปเงินบาท กิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,034.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.93 บาท/กิโลกรัม) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน เฉลี่ยตันละ 1,034.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.98 บาท/กิโลกรัม) แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 597.80 ดอลลาร์สหรัฐ (17.88 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 597.60 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03 แต่ลดลงในรูปเงินบาท กิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,028.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.76 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,027.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.78 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่ลดลงในรูปเงินบาท กิโลกรัมละ 0.02 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.54 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 1.87
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.49 เซนต์(กิโลกรัมละ 45.84 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 66.91 เซนต์ (กิโลกรัมละ 44.82 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.36 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.02 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,739 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,757 บาท จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.02
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,417 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,425 บาทจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.56
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 783 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 


ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคมากขึ้น เพราะเป็นช่วงเทศกาลท่องเที่ยว ส่งผลให้ภาวะตลาดสุกรค่อนข้างคึกคัก  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาและความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้น เพราะยังอยู่ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  62.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.39  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 60.53 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.41 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 64.94 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 57.52 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,200 บาท (บวกลบ 68 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 2,000 บาท  (บวกลบ 65 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา    ร้อยละ 10.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.01

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคใกล้เคียงกับผลผลิตไก่เนื้อ  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.10  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.68 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.60 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน   ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.61

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดคล้องกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 278 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 307 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 274 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 272 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 301 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 328 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 329 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 305 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.91 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.91 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.43 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.48 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.30 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.42 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 – 26 ธันวาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.03 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 87.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.09 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.01 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.33 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 153.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.91 บาท ราคา ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.83 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 182.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.57 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 30.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 24.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท